ภาพเขียนสีโบราณประตูผา

ภาพเขียนสีโบราณประตูผา

จากตัวเมืองลำปาง ไปตามถนนพหลโยธิน หรือทางหลวงหมายเลข 1 (ลำปาง-งาว) ประมาณกิโลเมตรที่ 48 ถึงศาลเจ้าพ่อประตูผา เดินเลียบไปตามหน้าผาระยะทางประมาณ 300 เมตร จะพบกับภาพเขียนสีอยู่ทางขวามือ

แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีค่ายประตูผา ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแห่งหนึ่งในอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ดำเนินการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยค่ายฝึกการรบพิเศษประตูผา (กองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 3 (ร้อย.ฝรพ.3) กองทัพภาคที่ 3) ซึ่งเป็นมีการจัดนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ค่ายและบริเวณใกล้เคียง (แหล่งโบราณคดีตั้งอยู่ภายในค่าย) จัดฝึกอบรมวิชาการเดินป่า แนะนำการดำรงชีวิตในป่า การไต่หน้าผาจำลอง การตั้งค่ายพักแรม การเดินชมทิวทัศน์บนยอดเขา และมีวิทยากรนำชมแหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีค่ายประตูผา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 054-247-712, 054-225-441 หรือ ตู้ ปณ. 1 อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000

นอกจากนี้ ศาลเจ้าพ่อประตูผายังเป็นที่เคารพสักการะของทหาร นักท่องเที่ยว และชาวบ้านในพื้นที่

 เป็นภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 3,000–5,000 ปี  ตั้งอยู่บริเวณศาลเจ้าพ่อประตูผา ถนนสายลำปาง – งาว กิโลเมตรที่ 48 เป็นภาพเขียนสีที่ยาวที่สุดในเขตภาคเหนือ มีภาพเขียนสีมากกว่า 1,872 ภาพ   และมีหลุมฝังศพ โครงกระดูกมนุษย์ มีการขุดพบภาชนะ ดินเผาในวัฒนธรรมรมหริภุญไชย และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยสันกำแพง ซึ่งเป็นที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก ภาพเขียนสีที่พบสามารถจำแนกออกเป็น 7 กลุ่มด้วยกัน ตามลักษณะการวาดของหน้าผาโดยมีความยาวของภาพทั้งสิ้น 300 เมตร ภาพเขียนสีส่วนใหญ่เป็นภาพมือที่ทำด้วยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน เช่น ภาพบุคคล ทั้งชายและหญิงที่แสดงกิริยาท่าทางที่แตกต่างกัน ภาพพืชและสัตว์ และภาพเชิงสัญลักษณ์ ตลอดจนภาพแสดงพิธีกรรมต่าง ๆ ในอดีต ที่ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาพเขียนสีที่ควรค่าแก่การศึกษาอย่ายิ่ง

พื้นที่ด้านตะวันออก มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลอนคลื่นขนาดใหญ่ มีลำห้วยไหลยผ่านระหว่างที่ลุ่มของราบลอนคลื่นแต่ละลูก และห่างออกไป ประมาณ 5 กิโลเมตรทางทิศตะวันออก เป็นตำแหน่งของกลุ่มภูเขหินปูน ดอยผาป่อง และห้วยผาแดง ที่ไหลลงมาจากเทือกเขาดอยผาแดง ซึ่งแบ่งกั้นเขตแดนระหว่างแอ่งแม่เมาะ และแหล่งโบราณคดี

งานดังกล่าวได้พบภาพเขียนสีจำนวนกว่า 1,872 ภาพภาพส่วนมากเป็นภาพมือที่ทำด้วยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันภาพคล้ายบุคคล ภาพคล้ายภาชนะ ภาพคล้ายเครื่องใช้ภาพคล้ายสตว์ภาพคล้ายพืชภาพเชิงสัญลักษณ์ภาพเขียนสีที่พบในแหล่งโบราณคดีนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่มตามสภาพพื้นที่ของหน้าผา

กลุ่มภาพที่ 1 (ภาพเลียงผา)

                กลุ่มภาพที่ 1 ปรากฏแนวภาพเขียนสีเป็นแนวยาวประมาณ 26 เมตร โดยภาพตั้งแต่ระดับพื้นดินไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 11.50 เมตร ภาพที่ปราฏในกลุ่มภาพที่ 1 มีทั้งภาพมือ ภาพบุคคล ภาพคล้ายสัตว์ ภาพคล้ายสิ่งของเครื่องใช้ จากการศึกษาพบว่าภาพเขียนต่าง ๆ ทับซ้อนกันหลายครั้ง

กลุ่มภาพที่ 2 (ผานกยูง)

               ตั้งอยู่ห่างจากหน้าผาที่ 1 ไปทางทิศใต้ ระยะทางประมาณ 30 เมตร ภาพเขียนสีในกลุ่มที่2นี้พบตั้งแต่ระดับพื้นดินขึ้นไปจนถึงผนังหน้าผาที่มีความสูงประมาณ 7.20 เมตร พื้นที่เขียนภาพประมาณ 16 เมตร ในกลุ่มภาพนี้ ปรากฏภาพมือที่ทำด้วยเทคนิคต่าง ๆ กระจายทั่วทั้งกลุ่มภาพ เช่นเดียวกับผาที่ 1 นอกจากนี้ยังมีภาพบุคคลภาพคล้ายนกยูงภาพคล้ายสัตว์เลื้อยคลานประเภทตะกวดกระรอกบ่วงและวัวภาพพืชคล้ายดอกไม้ภาพสัญลักษณ์ที่มีการตกแต่งภายใน

กลุ่มภาพที่ 3 (ผาวัว)

              กลุ่มภาพที่ 1 ปรากฏแนวภาพเขียนสีเป็นแนวยาวประมาณ 26 เมตร โดยภาพตั้งแต่ระดับพื้นดินไปจนถึงระดับความสูงประมาณ 11.50 เมตร ภาพที่ปราฏในกลุ่มภาพที่ 1 มีทั้งภาพมือ ภาพบุคคล ภาพคล้ายสัตว์ ภาพคล้ายสิ่งของเครื่องใช้ จากการศึกษาพบว่าภาพเขียนต่าง ๆ  ทับซ้อนกันหลายครั้ง

กลุ่มที่ 4 ( ผาเต้นระบำ)

              พบภาพเล้าเรื่องของกลุ่มบุคคลทั้งหญิงและชาย  โดยบุคคลคล้ายสตรีในภาพคนหนึ่งแสดงการเคลื่อนไหวคล้ายเต้นระบำ  และยังพบภาพคนวิ่งเข้ามาจับวัวกำลังต่อสู้กัน  ภาพสัตว์คล้ายนกแซงแซว
เก้ง กระต่าย หนู หรือค้างคาว ภาพพืชคล้ายข้าวโพดหรือข้าวฟ่างและภาพมือ

กลุ่มที่ 5 (ผาหินตั้ง)

               พบภาพสัตว์คล้ายวัว  ภาพสัญลักษณ์และภาพคล้ายการประกอบพิธีกรรมการฝังศพในวัฒนธรรมหินตั้ง

กลุ่มที่ 6  (ผานางกางแขน)

                พบภาพมือ  ภาพสัตว์คล้ายตะกวด  วัว ผีเสื้อ  นก  ภาพสัญลักษณ์  และภาพบุคคลคล้ายสตรียกแขนทั้งสองทั้งสองแขนขึ้นศีรษะ

กลุ่มที่ 7 ( ผาสัตว์และผากระจง)

               พบภาพมือภาพสัตว์คล้ายกระจง  และภาพบุคคลคล้ายเพศชาย 2 คน  บุคคลที่1 ถือบ่วงบาศแสดงกิริยาจับสัตว์ประเภทวัว บุคคลที่ 2 ถือไม้แสดงกิริยาฝึกสอนวัวและภาพสุนัขและลิง  จากการศึกษาพบว่าภาพนี้ถูกเขียนขึ้นหลังการฝนหรือจารึกพื้นผนังหินเป็นร่องลึก ซึ่งอาจทำให้สันนิษฐานได้ว่าชนกลุ่มนี้อาจรู้จักการใช้โลหะและนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการขุดผนังหินแล้ว

Related posts